วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

แหล่งท่องเที่ยวที่ภาคเหนือ ห้วยนำ้รู

 

คลิกเพื่อดูภาพใหญ่

ห้วยน้ำรู หรือ สามหมื่น ตั้งอยู่ ในเขตท้องที่ตำบล เมืองคอง อยู่ใน อำเภอเชียงดาว ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 130 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 4 ชั่วโมง มีสถานที่ท่องเที่ยว หลายแห่ง เช่น หมู่บ้าน ชาวเขา เผ่าลีซอ ทัศนียภาพที่สวยงาม ทุ่งดอก ฝิ่นขนาดใหญ่ และชมการปลูกกาแฟ และไม้ผล เมืองหนาว มีที่พัก และอาหารไว้บริการ แก่ นักท่องเที่ยว เป็นบ้านพักรวม 4 หลัง แต่ละ หลังมีเครื่องทำน้ำอุ่น ไว้คอยบริการด้วย การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงใหม่ - ห้วยน้ำดังเลยเข้าไปอีก 21 กิโลเมตร กองอนุรักษ์ต้นน้ำ กระทรวงเกษตร บางเขน กรุงเทพฯ โทร.(02) 5798210
 
 
 

http://www.travel.cmprice.com/detail/?id=293


วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

                                    การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ความหมายของระบบนิเวศ
ความหมายของระบบนิเวศ
                ระบบนิเวศ (Ecosystem) เป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับบริเวณแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่
                ระบบนิเวศนั้นเป็นแนวคิด (concept) ที่นักนิเวศวิทยาได้นำมาใช้ในการมองโลกส่วนย่อย ๆ ของโลกเพื่อที่จะได้เข้าใจความเป็นไปบนโลกนี้ได้ดีขึ้น
                ระบบนิเวศหนึ่ง ๆ นั้น ประกอบด้วยบริเวณที่สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ และกลุ่มประชากรที่มีชีวิตอยู่ในบริเวณดังกล่าว พืชและโดยเฉพาะสัตว์ต่าง ๆ ก็ต้องการบริเวณที่อยู่อาศัยที่มีขนาดอย่างน้อยที่สุดที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อว่าการมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป ยกตัวอย่างเช่น สระน้ำแห่งหนึ่งเราจะพบสัตว์และพืชนานาชนิด ซึ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับบริเวณน้ำที่มันอาศัยอยู่โดยมีจำนวนแตกต่างกัน ไปตามแต่ชนิด สระน้ำนั้นดูเหมือนว่าจะแยกจากบริเวณแวดล้อมอื่น ๆ ด้วยขอบสระ แต่ตามความเป็นจริงแล้วปริมาณน้ำในสระสามารถเพิ่มขึ้นได้ โดยน้ำฝนที่ตกลงมา ในขณะเดียวกันกับที่ระดับผิวน้ำก็จะระเหยไปอยู่ตลอดเวลา น้ำที่ไหลเข้ามาเพิ่มก็จะพัดพาเอาแร่ธาตุและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของพืชที่เน่าเปื่อยเข้ามาในสระตัวอ่อนของยุงและลูกกบตัวเล็ก ๆ อาศัยอยู่ในสระน้ำ แต่จะไปเติบโตบนบก นกและแมลงซึ่งมีถิ่นที่อยู่นอกสระก็จะมาหาอาหารในสระน้ำ การไหลเข้าของสารและการสูญเสียสารเช่นนี้จึงทำให้สระน้ำเป็นระบบเปิดระบบ หนึ่ง
                หากมีแร่ธาตุไหลเข้ามาเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้การเจริญเติบโตของพืชเพิ่มมากขึ้น เช่น ไฟโตแพลงตันหรือพืชน้ำที่อยู่ก้นสระ ปริมาณสัตว์จึงเพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่เมื่อปริมาณสัตว์เพิ่ม ปริมาณของพืชที่เป็นอาหารก็จะค่อย ๆ น้อยลง ทำให้ปริมาณสัตว์ค่อย ๆ ลดตามลงไปด้วยเนื่องจากอาหารมีไม่พอ ดังนั้นสระน้ำจึงมีความสามารถในการที่จะควบคุมตัวของมัน (Self-regulation) เองได้ กล่าวคือ จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อยู่ในสระน้ำจะมีจำนวนคงที่ ซึ่งเราเรียกว่ามีความสมดุล
                สระน้ำนี้ จึงเป็นหน่วยหนึ่งของธรรมชาติที่เรียกว่า "ระบบนิเวศ" (Ecosystem) ซึ่งกล่าวได้ว่าระบบนิเวศหนึ่ง ๆ นั้น เป็นโครงสร้างที่เปิดและมีความสามารถในการควบคุมตัวของมันเอง ประกอบไปด้วยประชากรต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ไร้ชีวิต ระบบนิเวศเป็นระบบเปิดที่มีความสัมพันธ์กับบริเวณแวดล้อมโดยมีการแลกเปลี่ยน สาร และพลังงาน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวชุมชนที่มีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ใช้ชีวิตนั้นรวมกันเป็นระบบ นิเวศ
 

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

การละเล่นพื้นบ้านพื้นเมืองของภาคอีสาน

 การละเล่นพื้นบ้านพื้นเมืองของภาคอีสาน

การละเล่นพื้นเมือง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ การแสดงพื้นเมือง และ เพลงพื้นเมือง

การแสดงพื้นเมือง หมายถึง การละเล่นที่มีการแสดง การร่ายรำ มีเพลงดนตรีประกอบ ที่ได้วางเป็นแบบแผน และนิยมเล่นหรือถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนแพร่หลาย
การแสดงพื้นเมือง อาจเกิดจากการบูชาบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ขอให้สิ่งที่ตนนับถือประทานสิ่งที่ตนปรารถนา หรือขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่ปรารถนา? นอกจากนี้ ก็เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงรื่นเริง
เพลงพื้นเมือง หมายถึง? เพลงที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ ประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลง ไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดในท้องถิ่นของตน นิยมร้องเล่นกันในเทศกาลหรืองานที่มีการชุมนุมรื่นเริง เช่น ตรุษ สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และในการลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เป็นการเล่นที่สืบต่อกันมา
เนื้อความของเพลงพื้นเมืองที่นิยมร้องกัน มักจะเป็นการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง ปะทะคารมกัน ในด้านสำนวนโวหาร สิ่งสำคัญของการร้องคือ การด้นกลอนสด ร้องแก้กันด้วยปฏิภาณไหวพริบ ทำให้เกิดความสนุกสนานทั้งสองฝ่า
การละเล่นพื้นเมืองภาคเหนือ
ในภาคเหนือ ภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ชาวเหนือจึงมีนิสัยอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนช้อย งดงามและอ่อนหวาน
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า ฟ้อน มีผู้แสดงเป็นชุดเป็นหมู่ ร่ายรำท่าเหมือนกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง ๆ
ลักษณะของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่
ลีลาการเคลื่อนไหว? เป็นไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภาค
เครื่องแต่งกาย? เป็นลักษณะพื้นเมืองของภาคนั้น ๆ
เครื่องดนตรี? เป็นของท้องถิ่น ได้แก่ ปี่แน กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย
เพลงบรรเลงและเพลงร้อง เป็นทำนองและสำเนียงท้องถิ่น

การละเล่นพื้นเมืองภาคอีสาน
ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก จีงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส
การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯ
ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง
ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ได้แก่ กลองยาว กรับ ฉาบ โหม่ง แคน โปงลาง
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ได้แก่ ฟ้อนภูไท? เซิ้งสวิง? เซิ้งโปงลาง? เซิ้งตังหวาย? ภูไทสามเผ่า? ไทภูเขา? เซิ้งกระติบข้าว
เพลงพื้นเมืองภาคอีสาน เช่น หมอลำ เพลงโคราช เจรียง กันตรึม เพลงล่องโขง เพลงแอ่วแคน
http://www.baanmaha.com/blog/การละเล่นพื้นบ้านพื้นเมือง

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

การทำขนม มะพร้าวแก้ว-ใบเตย

มะพร้าวแก้ว - ใบเตย

มะพร้าวแก้ว - ใบเตย
ขนมไทยทำไม่ยากมีมาฝากอีกแล้วค่ะ จริง ๆ เมนูนี้ถือเป็นการถนอมอาหารวีธีนึงด้วยนะจ๊ะ แถมอร่อย เก็บไว้ทานได้งาน ทำไม่ยาก บ้านใครเนื้อมะพร้าวเหลือเยอะ ลองทำมาทำดูได้ค่ะ ^^”   
ก่อนอื่นต้องเล่าถึงที่มาของมะพร้าวก่อนน้า.. พอดีช่วงเดือนที่ผ่านมาส้มไม่ค่อยสบายค่ะ  ไปหาคุณหมอ ๆ บอกว่าเสี่ยงจะเป็นโรคฮิตของชาวใต้ 555 (ชิกุลคุณยา)  เมื่อไม่สบายเลยต้องโดดงาน เอ้ย! หยุดพักฟื้น อิอิ พี่ ๆที่ทำงานเค้าเลยเป็นห่วงค่ะ เลยซื้อมะพร้าวมาให้เยอะเลย (หากเป็นชิกุลต้องทานน้ำมะพร้าวกะยาเขียวค่ะ ส้มต้องกินทุกวันเลยอะ 555) ปล. ส้มไม่ได้เป็นชิกุลนะจ๊ะ เป็นไข้หวัดธรรมดาจ้า^^”  มะพร้าวที่ได้มา คุณแม่ประยงค์เค้าจะปลอกเปลือกสีเขียว ๆ ออกหมด เค้าบอกว่าเวลาแฉะจะได้ง่าย ๆ อะ (เอ้า ต้องเชื่ออดีตเจ้าของสวนพร้าวหน่อยค่ะ) เมื่อเอาน้ำไปละลายยาเขียวหมด ก็เหลือแต่เนื้อซึ่งไม่ค่อยจะอ่อนนักค่ะ คุณแม่เค้าเลยนำมาทำ เมนูตัวนี้ (ตามแบบของเค้า)

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีไทย

 ประเพณีไทย

ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา
และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย เช่น
ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร           
ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา   
ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น ต้น นอกจากนี้
ประเพณีและอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เรา ...
คนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป                                   http://personal.swu.ac.th/students/hm471010130/web/index.htm